QC & QA คืออะไร เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่อยากทำแบรนด์ หรืออยากเริ่มต้นทำธุรกิจ อาจจะเคยได้ยินหรือคุ้นตากับตัวอักษรภาษาอังกฤษอย่าง QC และ QA เป็นแน่ ซึ่งทั้งสองตัวนี้มีความสำคัญในการทำธุรกิจมาก ๆ หากใครที่กำลังวางแผนสร้างแบรนด์ตัวเองควรที่จะต้องรู้ว่า QC คืออะไร และ QA คืออะไร
ดังนั้นในบทความนี้ PDL จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับ QC และ QA ว่าทั้ง 2 ประเภทนี้ มีข้อแตกต่างกันอย่างไร มีความสำคัญและหน้าที่อย่างไรในการสร้างธุรกิจ รวมถึงศัพท์เฉพาะทางควรรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการวางมาตรฐานสินค้าของคุณในอนาคต และเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคตั้งแต่แรกเริ่ม รับรองว่าอ่านบทความนี้ได้ความรู้อัดแน่นอย่างแน่นอน
QC & QA คืออะไร
ก่อนที่จะทราบหน้าที่ของ QC และ QA นั้น เรามาดูว่าในการผลิต สร้างธุรกิจ OEM คิวเอและคิวซีมีความหมายแต่ละตัวอย่างไร ดังต่อไปนี้
QC ย่อมาจาก Quality Control ซึ่งคิวซีคือ การควบคุมคุณภาพ เพื่อให้ตรงตามมาตรฐานและความพึงพอใจของลูกค้า โดยจะเป็นการควบคุมคุณภาพของสินค้า ไม่ว่าจะตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ กระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูปไปจนถึงการบริการ
QA ย่อมาจาก Quality Assurance คือ การประกันคุณภาพ ซึ่งหมายถึงกระบวนการที่สร้างความมั่นใจได้ว่า กระบวนการผลิตสินค้าและงานด้านบริการมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน รวมถึงผ่านการตรวจสอบและทดสอบตามมาตรการที่ได้กำหนดไว้ เพื่อเป็นการรับประกันว่าลูกค้าจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ ตรงตามมาตรฐานและความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์
จะเห็นได้ว่า QC คือการควบคุมคุณภาพ ส่วน QA คือการประกันคุณภาพ เพื่อสร้างความั่นใจในคุณภาพของสินค้าให้ออกมาตรงตามมาตรฐานที่วางแผนเอาไว้ ซึ่งทั้งสองฝ่ายนี้จะต้องมีการทำงานร่วมกันเพื่อคุมงาน และแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการผลิตจนส่งผลให้สินค้าไม่ตรงตามคุณภาพได้
หน้าที่ของ qc คืออะไร และหน้าที่ qa คืออะไร
หลังจากที่ได้ทราบความหมายของ QC และ QA กันไปแล้ว ในการทำงานก็จะมีการแยกแผนกและหน้าที่ออกเป็นสองฝ่าย ซึ่งแต่ละฝ่ายมีรายละเอียดหน้าที่ ดังนี้
QC คือ เจ้าหน้าที่ Quality Control มีหน้าที่อะไร?
QC ทำหน้าที่อะไร? แผนก QC คือมีหน้าที่ในการควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบทุกกระบวนการในการผลิตโดยมีการควบคุมและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ตั้งแต่รับเข้าจนกลายมาเป็นสินค้าสำเร็จรูปก่อนส่งถึงมือลูกค้า
โดยขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ (QC) มีดังนี้
- ตรวจสอบคุณภาพของ Raw Material หรือ วัตถุดิบ
ก่อนที่จะเริ่มทำการผลิตนั้น เจ้าหน้าที่ QC จะต้องมีการตรวจวัตถุดิบแบบสุ่ม เพื่อที่จะได้ตรวจสอบว่าคุณภาพของวัตถุดิบตรงกับใบรับรอง หรือใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์สินค้า (Certificate Of Analysis: CoA) หรือไม่
- ตรวจสอบคุณภาพของ Packaging หรือ บรรจุภัณฑ์
เจ้าหน้าที่จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพบรรจุภัณฑ์ว่าตรงตามมาตรฐานหรือไม่ ก่อนที่จะบรรจุสินค้าลงไปทุกครั้ง
- ตรวจสอบคุณภาพ Bulk หรือ เนื้อผลิตภัณฑ์
การตรวจคุณภาพเนื้อผลิตภัณฑ์จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การตรวจสอบทางกายภาพและทางเคมี (Physical Chemical Testing) โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้
- ลักษณะภายนอก (Appearance)
- สี (Color)
- กลิ่น (Odor)
- ความเป็นกรด ด่าง (pH)
- ความเข้มข้นของเนื้อผลิตภัณฑ์ (Viscosity)
และการตรวจสอบเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราต่าง ๆ (Microbiology Testing) ซึ่งจะต้องมีการส่งตรวจในห้องตรวจเชื้อ (Laboratory) ที่ได้มาตรฐาน
- ตรวจสอบคุณภาพระหว่างการผลิต
การตรวจสอบคุณภาพในระหว่างการผลิตจะต้องมีการตรวจทุก ๆ ชั่วโมงโดยการสุ่ม เช่น ตรวจสอบน้ำหนักบรรจุ ตรวจการติดฉลากสินค้าบนบรรจุภัณฑ์ ตรวจการแพ็คลงกล่อง หน้าที่ในส่วนนี้จะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ QC Line ซึ่งเป็นผู้เดินตรวจงานในไลน์การผลิต
- ตรวจสอบคุณภาพ Finish Good หรือ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการผลิตแล้ว QC Line จะต้องทำการสุ่มตรวจ สินค้าสำเร็จรูป ว่ามีคุณภาพถูกต้องตรงตามมาตรฐานหรือไม่ รวมถึงการเก็บตัวอย่าง (Sample Retention) เพื่อนำมาตรวจสอบในภายหลัง โดยอายุของการจัดเก็บจะขึ้นอยู่กับอายุของผลิตภัณฑ์
“สร้างแบรนด์ครีมพร้อม QC/QA เตรียมเงินทุนยังไง ไม่ให้พลาด อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : สร้างแบรนด์ครีมลงทุนเท่าไหร่”
QA คือ เจ้าหน้าที่ Quality Assurance มีหน้าที่อะไร?
เจ้าหน้าที่ QA หมายถึง เจ้าหน้าที่ Quality Assurance หรือ เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพ คือ เจ้าหน้าที่ที่ต้องคอยวางแผน ประเมิน รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่จะส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในระหว่างการผลิต หากเกิดปัญหาขึ้น เจ้าหน้าที่ QA จะต้องเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อวางแผนการแก้ปัญหาได้ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพจะเป็นคนกำหนดมาตรฐานของสินค้าและบริการโดยอิงจากความต้องการของลูกค้า และเมื่อมีสินค้าที่ผ่าน QC มาเรียบร้อยแล้ว QA จะต้องมีการตรวจสอบสินค้านั้นอีกรอบ
QC และ QA เกี่ยวข้องอย่างไรกับโรงงานรับผลิตเครื่องสำอาง จำเป็นต้องมีหรือไม่
หากใครที่ต้องการสร้างแบรนด์ครีม หรือเวชสำอางต่าง ๆ ควรเลือกโรงงานที่มี QC และ QA ด้วยผลิตภัณฑ์เวชสำอางนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะใช้ลงบนผิวหรือร่างกายโดยตรง ดังนั้นการตรวจสอบคุณภาพทั้งทางกายภาพ เคมี และการตรวจสอบเชื้อโรค รวมถึงสารก่อเชื้อโรค จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก หากไม่มีการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าและได้มีการวางจำหน่าย ผู้บริโภคอาจเกิดอาการแพ้ และทำให้แบรนด์ของเราสูญเสียทั้งภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ และเงินลงทุนได้
“รวมเรื่องน่ารู้หากคิดอยากมีธุรกิจของตัวเอง อ่านต่อใน เจ้าของแบรนด์”
ศัพท์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับ QC และ QA ที่ต้องรู้ก่อนเป็นเจ้าของธุรกิจ!
คำศัพท์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับ QC และ QA ที่ควรรู้ หากต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจแบรนด์ขายครีม
- Standard : ตัวอย่าง หรือต้นแบบการผลิต รวมถึงเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตรงตามมาตรฐานและความพึงพอใจของลูกค้า
- AQL (Acceptabel Quality Limit) : ระดับคุณภาพที่ยอมรับ หมายถึง ค่าสูงสุดของจำนวนผลิตภัณฑ์บกพร่องที่ยอมให้มีได้ในผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการสุ่มตรวจสอบหนึ่งตัวอย่าง
- Microbiology Testing : การทดสอบสารปนเปื้อน เช่น เชื้อจุลินทรีย์ เชื้อรา และเชื้อโรค
- Physical Chemical Testing : การทดสอบทางกายภาพและทางเคมี
- Appearance : ลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น ผง ครีม เซรั่ม หรือเจล เป็นต้น
- Viscosity : ค่าความหนืดของเนื้อผลิตภัณฑ์
- Retain Sample : ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เก็บไว้เป็นตัวแทนเพื่อใช้ในการติดตามคุณภาพ
- Finish Good : ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
เพียว เดอริมา โรงงานรับผลิตสกินแคร์ เครื่องสำอางคุณภาพสูง พร้อม QC และ QA โดยผู้เชี่ยวชาญ
สรุปแล้ว QC คือการควบคุมคุณภาพ และ QA คือการประกันคุณภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการให้ตรงตามมาตรฐานคุณภาพที่กำหนด โดยทั้งสองส่วนนี้เป็นกระบวนการสำคัญในการผลิตสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเครื่องสำอาง สกินแคร์หรือเวชสำอางต่าง ๆ เนื่องจากจะเป็นการควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐานการผลิตตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ก่อนถูกนำไปใช้จริงบนผิวและหลังจากที่ได้เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าสำเร็จรูป เจ้าหน้าที่ QC และ QA ยังจะสามารถช่วยในการควบคุมคุณภาพและรูปลักษณ์ของสินค้า เช่น ปริมาณ รูปแบบบรรจุภัณฑ์ จนไปถึงฉลากสินค้า ก่อนส่งถึงมือลูกค้า
ที่ เพียว เดอริมา รับผลิตเครื่องสำอางและสกินแคร์ พร้อมดูแลตั้งแต่วางแผนการผลิต การทดสอบคุณภาพสินค้าโดย QC และ QA จนไปถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์และวางแผนการตลาด ให้ผลิตภัณฑ์ของคุณตรงใจ ได้มาตรฐาน ตรงตามคุณภาพ ปลอดภัยโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลิตภัณฑ์จากโรงงานผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 9001, ISO 22716, GMP และฮาลาล
สนใจติดต่อผลิตเครื่องสำอางและสกินแคร์ ติดต่อ
Line ID : @purederima
Tel. No.: 02-285-4266
Facebook Page : Pure Derima Laboratories