เจาะลึกครีมกันแดดทุกประเภท ครีมกันแดดมีกี่ประเภท ที่เจ้าของแบรนด์ควรรู้ก่อนทำแบรนด์

ครีมกันแดดมีกี่ประเภท

เจาะลึกครีมกันแดดทุกประเภท ครีมกันแดดมีกี่ประเภท ที่เจ้าของแบรนด์ต้องรู้ ! 

ในยุคปัจจุบันที่แสงแดดเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาผิว ครีมกันแดดจึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมในตลาดมากยิ่งขึ้น ทำให้ตลาดครีมกันแดดมีความหลากหลายและมีการแข่งขันสูง การผลิตครีมกันแดดที่มีความแตกต่าง และมีความโดดเด่น จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ บทความนี้จะพาเจ้าของแบรนด์ทุกท่าน ไปเจาะลึกถึงทุกประเภทของครีมกันแดด พร้อมอธิบายถึงข้อดี ข้อเสีย และสารสกัดที่มักนิยมใช้ในครีมกันแดดแต่ละประเภท เพื่อให้เข้าใจถึงทุกประเภทครีมกันแดด ไปปรับใช้พัฒนาสูตรครีมกันแดดที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ต่อไป

 

ผลิตครีมกันแดดที่ Pure Derima Laboratories มีรูปแบบใดบ้าง
ผลิตครีมกันแดดที่ Pure Derima Laboratories มีรูปแบบใดบ้าง

 

ผลิตครีมกันแดดที่ Pure Derima Laboratories มีแบบใดบ้าง ?

Pure Derima Laboratories (PDL) รับผลิตครีมกันแดดหลายรูปแบบ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของเจ้าของแบรนด์ และเพื่อผลิตครีมกันแดดที่เหมาะสมกับทุกสภาพผิวของผู้บริโภค และเหมาะสมกับทุกประเภทการใช้งาน  โดยรูปแบบการผลิตครีมกันแดดที่ Pure Derima Laboratories (PDL) มีทั้งหมด 6 รูปแบบ ดังนี้

 

1.ครีมกันแดดรูปแบบเนื้อเจล

  • การผลิตครีมกันแดดรูปแบบเนื้อเจล เป็นการผลิตครีมกันแดดที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากครีมกันแดดประเภทอื่น ๆ เนื่องจากเป็นครีมกันแดดรูปแบบนี้จะมีเนื้อสัมผัสที่เบาและซึมซาบรวดเร็ว แห้งไว ทำให้ผู้บริโภครู้สึกไม่หนักผิวเมื่อทา เหมาะสำหรับทุกสภาพผิว ไม่ว่าจะเป็นผิวแห้ง ผิวมัน และผิวแบบธรรมดา

2.ครีมกันแดดรูปแบบเนื้อครีม

  • การผลิตครีมกันแดดรูปแบบเนื้อครีม เป็นการผลิตครีมกันแดดที่มีเนื้อสัมผัสที่หนา  และเข้มข้น มากกว่าการผลิตครีมกันแดดเนื้อเจล ทำให้ครีมกันแดดรูปแบบนี้ สามารถปกป้องผิวจากแสงแดดได้อย่างยาวนานมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถบำรุงผิวและให้ความชุ่มชื้นได้ดี จึงเหมาะกับผู้ที่มีผิวแห้ง และผู้ที่เล่นกีฬากลางแจ้ง เพราะสามารถทนต่อเหงื่อได้ดี

3.ครีมกันแดดรูปแบบผสมรองพื้น

  • การผลิตครีมกันแดดผสมรองพื้น เป็นการผลิตครีมกันแดดที่ผสมทั้งครีมกันแดด และรองพื้นเข้าด้วยกัน  ซึ่งครีมกันแดดรูปแบบนี้ จะช่วยให้ผิวหน้าเรียบเนียนขึ้นพร้อมกับปกป้อง และการดูแลผิวในขั้นตอนเดียว  จึงมักได้รับความนิยมในผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย  และมีความต้องการให้ผิวกันแดดพร้อมปกปิดรอยต่าง ๆ บนหน้า 

4.ครีมกันแดดรูปแบบแท่ง

  • การผลิตครีมกันแดดแบบแท่ง ได้รับความนิยมจากเจ้าของแบรนด์มากขึ้น เนื่องจากครีมกันแดดรูปแบบนี้ เป็นครีมกันแดดรูปแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ในกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็วในการใช้งาน เพราะเหมาะกับการพกพาไปได้ทุกที่ ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือนครีมกันแดดรูปแบบอื่น ๆ โดยจุดเด่นของครีมกันแดดรูปแบบแท่ง คือ สามารถทาทับเครื่องสำอางได้โดยไม่ทำให้เครื่องสำอางหลุดออก

5.ครีมกันแดดรูปแบบสเปรย์

  • การผลิตครีมกันแดดรูปแบบสเปรย์ ก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่ได้ความนิยมมากขึ้นในหมู่เจ้าของแบรนด์ เพราะครีมกันแดดรูปแบบนี้ได้รับความใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการใช้งานที่สะดวกสบาย สามารถฉีดลงบนผิวได้เลย ไม่ต้องใช้มือหรือเครื่องมืออื่น ๆ เพิ่ม สามารถใช้งานง่ายระหว่างวัน ทำให้ผู้บริโภคหันมาสนใจครีมกันแดดรูปแบบนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ 

6.ครีมกันแดดเนื้อน้ำนม

  • การผลิตครีมกันแดดเนื้อน้ำนม เป็นการผลิตครีมกันแดดที่ผสมระหว่างคุณสมบัติของเนื้อครีมกับเนื้อสัมผัสที่เบาบางเหมือนน้ำ ทำให้ครีมกันแดดรูปแบบนี้สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ทั้งการปกป้องจากแสงแดด และการบำรุงผิว

 

เจาะลึกประเภทครีมกันแดด มีกี่ประเภท
เจาะลึกประเภทครีมกันแดด มีกี่ประเภท

 

ครีมกันแดดมีกี่ประเภท ?

ในปัจจุบันประเภทครีมกันแดดถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภทมากขึ้น ซึ่งครีมกันแดดแต่ละประเภทนั้นมีคุณสมบัติ และวิธีการทำงานที่แตกต่างกันออกไป การเข้าใจถึงคุณสมบัติ จุดเด่น จุดด้อยของประเภทครีมกันแดดต่าง ๆ จะช่วยให้การผลิตครีมกันแดดออกมา สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยประเภทครีมกันแดดในปัจจุบันสามารถแบ่งออกหลัก ๆ เป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • ครีมกันแดดประเภทเคมี (Chemical Sunscreen)
  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen)
  • ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen)

 

ครีมกันแดดประเภทเคมี (Chemical Sunscreen)
ครีมกันแดดประเภทเคมี (Chemical Sunscreen)

 

ครีมกันแดดประเภทเคมี (Chemical Sunscreen)

ครีมกันแดดประเภทเคมี (Chemical Sunscreen) เป็นผลิตครีมกันแดดโดยใช้สารเคมีเป็นส่วนประกอบหลัก ในการปกป้องผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดผิวไหม้ ฝ้า กระ และริ้วรอย ซึ่งครีมกันแดดประเภทเคมีจะซึมเข้าสู่ผิวหนัง จะดูดซับรังสี UV แล้วพลังงานของรังสี UV จะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานชนิดอื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง

 

หลักการทำงานของครีมกันแดดประเภทเคมี  (Chemical Sunscreen)

  • ครีมกันแดดประเภทเคมีจะซึมเข้าสู่ผิวชั้นบนสุด (Epidermis)
  • ครีมกันแดดประเภทเคมีจะดูดซับพลังงานจากรังสี UVA ที่ทำให้ลายคอลลาเจนและก่อให้เกิดริ้วรอย นอกจากนั้นยังช่วยดูดซับรังสี UVB ที่ทำให้ผิวไหม้แดดอีกด้วย
  • ครีมกันแดดประเภทเคมีจะเปลี่ยนพลังงานจากแสงแดดที่เป็นอันตราย เป็นพลังงานความร้อนแล้วปล่อยออกจากผิว โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย

 

คุณสมบัติของครีมกันแดดประเภทเคมี  (Chemical Sunscreen)

  • ครีมกันแดดประเภทเคมีมักมีเนื้อบางเบา ซึมซาบเร็ว ไม่ทิ้งคราบขาว
  • ครีมกันแดดประเภทเคมีคุณสมบัติในการปกป้องได้ทั้งรังสี UVA และรังสี UVB 

 

สารที่มักใช้ในครีมกันแดดประเภทเคมี  (Chemical Sunscreen)

สารที่มักใช้ในครีมกันแดดประเภทเคมี มักเป็นสารที่ทำหน้าที่ดูดซับรังสี UV เพื่อปกป้องผิวจากการทำลายของรังสี UV โดยสารเหล่านี้จะแบ่งออกเป็นสารที่ป้องกัน รังสี UVA และ รังสี UVB ดังนี้

1.สารป้องกันรังสี UVB ในครีมกันแดดประเภทเคมี

  • Octinoxate (Ethylhexyl Methoxycinnamate)
  • Homosalate
  • Octisalate
  • PABA (Para-Aminobenzoic Acid)

2.สารป้องกันรังสี UVA ในครีมกันแดดประเภทเคมี

  • Avobenzone
  • Tinosorb S
  • Mexoryl SX
  • Oxybenzone
  • Ecamsule

3.สารที่ป้องกันได้ทั้งรังสี UVA และ รังสี UVB 

  • Oxybenzone
  • Homosalate
  • Tinosorb M

 

ผู้บริโภคที่เหมาะกับครีมกันแดดประเภทเคมี  (Chemical Sunscreen)

  • ผู้บริโภคที่ต้องการครีมกันแดดเนื้อบางเบา ไม่เหนียวเหนอะหนะ
  • ผู้บริโภคที่ต้องการครีมกันแดดที่สามารถใช้ร่วมกับการแต่งหน้าได้ดี ไม่ต้องการให้ครีมกันแดดทิ้งคราบขาว
  • ผู้บริโภคที่มีผิวธรรมดาหรือผิวผสม
  • ผู้บริโภคที่ต้องการครีมกันแดดในการใช้กลางแจ้ง ทนเหงื่อ ทนน้ำได้ดี
  • ผู้บริโภคที่ต้องการครีมกันแดดที่ครอบคลุมทั้งรังสีUVA และ รังสี UVB

 

ข้อดีของครีมกันแดดประเภทเคมี  (Chemical Sunscreen)

  • เนื้อสัมผัสบางเบา และไม่เหนียวเหนอะหนะ
  • ไม่ทิ้งคราบขาวบนผิว
  • ซึมเข้าสู่ผิวได้รวดเร็วกว่าครีมกันแดดประเภทอื่น
  • เหมาะสำหรับการใช้ในชีวิตประจำวัน
  • เหมาะสำหรับการแต่งหน้า สามารถทาทับรองพื้นหรือเมคอัพได้
  • ปกป้องรังสีได้ทั้ง UVA และ UVB

 

ข้อเสียของครีมกันแดดประเภทเคมี  (Chemical Sunscreen)

  • สารเคมีบางชนิดในครีมกันแดดประเภทเคมี อาจก่อให้เกิดการแพ้ หรือการระคายเคืองในผู้บริโภคบางรายได้ โดยเฉพาะในผู้บริโภคที่มีผิวบอบบางแพ้ง่าย
  • สารเคมีบางชนิดในครีมกันแดดประเภทเคมี อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทางทะเล 
  • ครีมกันแดดประเภทเคมีบางรูปแบบไม่ค่อยทนทานต่อแสงแดด ผู้บริโภคจึงจำเป็นที่ต้องทาครีมกันแดดซ้ำบ่อย ๆ
  • ครีมกันแดดประเภทเคมีอาจสะสมความร้อนบนผิว ทำให้ผู้บริโภคบางคนรู้สึกอุ่นหรือร้อนบนผิวหนังได้

 

ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen)
ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen)

 

ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen)

ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) จะมีการทำงานที่แตกต่างจากการทำงานของประเภทครีมกันแดดแบบใช้สารเคมี  (Chemical Sunscreen) ที่การผลิตครีมกันแดดประเภทนี้จะใช้แร่ธาตุเป็นส่วนประกอบ ในการปกป้องผิวจากรังสี UV ด้วยการสะท้อนหรือกระจายรังสีออกจากผิว ซึ่งครีมกันแดดประเภทนี้จะทำหน้าที่เหมือนโล่ป้องกัน ไม่ต้องดูดซึมรังสี UV เข้าผิวหนัง

 

หลักการทำงานของครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen)

ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) ทำหน้าที่โดยการสะท้อนรังสี UV ออกจากผิว ซึ่งรังสีที่ถูกสะท้อนจะกระจายไปในทิศทางอื่น ๆ ทำให้รังสี UV ไม่สามารถซึมลงผิวได้ โดยครีมกันแดดประเภทนี้ สามารถปกป้องผิวจากแสงแดดและรังสี UV ได้โดยไม่ต้องใช้เวลานาน

 

คุณสมบัติของครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen)

  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) ป้องกันรังสี UV ได้โดยการสะท้อน และกระจายออกจากผิวไปในทิศทางต่าง ๆ ทำให้รังสี UV ไม่สามารถซึมเข้าสู่ผิวได้
  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) สามารถป้องกันผิวได้ทันทีหลังทา ไม่จำเป็นต้องรอให้ครีมกันแดดซึมเข้าสู่ผิว 
  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) ทนต่อเหงื่อและน้ำได้ดี

 

สารที่มักใช้ในครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen)

ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) มักใช้สารแร่ธาตุที่มีคุณสมบัติในการสะท้อนและกระจายรังสี UV ออกจากผิวหนัง โดยสารที่มักใช้ในครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล มีดังนี้ 

  • Zinc Oxide (ซิงก์ออกไซด์) สามารถปกป้องผิวได้ทั้งรังสี UVA และรังสี UVB เหมาะสำหรับผิวแพ้ง่ายหรือผิวเด็ก ปลอดภัย ไม่ระคายเคืองหรือแพ้
  • Titanium Dioxide (ไทเทเนียมไดออกไซด์) ป้องกันรังสี UVB และบางส่วนของรังสี UVA เหมาะสำหรับผิวที่บอบบางหรือผิวเด็ก สามารถสะท้อนรังสี UV ออกจากผิวได้ทันที

 

ผู้บริโภคที่เหมาะกับครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen)

  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) เหมาะกับผู้บริโภคที่มีผิวแพ้ง่ายหรือบอบบาง
  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) เหมาะกับผู้บริโภคที่มีผิวบอบบางหรือผิวเด็ก
  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) เหมาะกับผู้บริโภคที่กังวลเรื่องการสะสมของสารเคมีในผิว
  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) เหมาะกับผู้บริโภคที่ต้องการการปกป้องทันทีจากแสงแดด
  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) เหมาะกับผู้บริโภคที่ต้องการปกป้องจากทั้ง UVA และ UVB

 

ข้อดีของครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen)

  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) สามารถปกป้องผิวได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้ซึม
  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) ไม่มีสารเคมีที่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรือแพ้ จึงเหมาะกับผู้บริโภคที่มีผิวบอบบางด้วย
  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) ไม่ก่อให้เกิดการสะสมในผิว
  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) ปกป้องผิวได้ทั้งรังสี UVA และรังสี UVB
  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดริ้วรอยได้
  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) ทนทานต่อเหงื่อและน้ำ

 

ข้อเสียของครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen)

  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) ใช้ต้นทุนในการผลิตสูง
  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) อาจมีคราบขาวบนผิว
  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) ทนทานต่อเหงื่อและน้ำ น้อยกว่าครีมกันแดดประเภทเคมี
  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) ใช้กับเครื่องสำอางได้ยาากว่า
  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) มีต้นทุนการผลิตสูง เนื่องจากส่วนผสมมีราคาแพง

 

ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen)
ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen)

 

ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen)

ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) เป็นการผลิตครีมกันแดดที่เป็นการรวมคุณสมบัติของครีมกันแดดประเภทเคมี (Chemical Sunscreen) และครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อลดข้อด้อยและเพิ่มข้อดีจากทั้งสองประเภท ทำให้การผลิตครีมกันแดดประเภทนี้สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ดีขึ้นและเหมาะสมกับการใช้งานที่หลากหลาย 

 

หลักการทำงานของครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen)

ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) จะใช้สารเคมีในการช่วยซับรังสี UV ที่สารฟิสิคอลไม่สามารถป้องกันได้สมบรูณ์ ขณะเดียวกันสารฟิสิคอลจะช่วยเสริมความเสถียรของสูตร และลดผลข้างเคียงจากสารเคมีได้ โดยการผสมผสานครีมกันแดดทั้งสองประเภท จะช่วยให้ได้ครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 

 

คุณสมบัติของครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen)

  • ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) สามารถปกป้องผิวได้ทั้งรังสี UVA และรังสี UVB
  • ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) มีเนื้อสัมผัสที่เกลี่ยง่าย ซึมไว ไม่เหนอะหนะ 
  • ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) สูตรมีความเสถียรและทนทานสูง 
  • ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) ปลอดภัยต่อผิว และลดการระคายเคือง

 

สารที่มักใช้ในครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen)

ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) จะใช้สารทั้งประเภทเคมี (Chemical Sunscreen) และประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) จะใช้สาร ดังนี้

  • Zinc Oxide (ซิงค์ออกไซด์)
  • Titanium Dioxide (ไทเทเนียมไดออกไซด์)
  • Avobenzone (อาโวเบนโซน)
  • Octinoxate (อ็อกติโนเซต)
  • Homosalate (โฮโมซาเลต)
  • Octocrylene (อ็อกโตคริลีน)
  • Oxybenzone (ออกซีเบนโซน)

 

ผู้บริโภคที่เหมาะกับครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen)

  • ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) ผู้บริโภคที่ต้องการการปกป้องรังสี UV ทั้งสองประเภท UVA และ UVB
  • ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) ผู้บริโภคที่มีผิวแพ้ง่ายหรือบอบบาง
  • ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) ผู้บริโภคที่ไม่ชอบคราบขาวจากครีมกันแดดฟิสิคอล
  • ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) ผู้บริโภคที่มีกิจกรรมกลางแจ้งหรือใช้ชีวิตในพื้นที่ที่มีแสงแดดแรง
  • ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) ผู้บริโภคที่การเนื้อสัมผัสที่เบาบางและทาได้ง่าย

 

ข้อดีของครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen)

ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) มีข้อดีหลายอย่าง เนื่องจากเป็นการผสมผสานข้อดีระหว่างครีมกันแดดประเภทเคมี (Chemical Sunscreen) และครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) ทำให้เกิดความสมดุลในการป้องกันผิว เนื้อสัมผัส และความปลอดภัยสูงขึ้น โดยครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) มีข้อดี ดังนี้

  • ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) ช่วยป้องกันรังสี UVA และ UVB ได้อย่างครอบคลุม อีกทั้งบางสูตรยังสามารถป้องกันรังสี HEV (High Energy Visible Light) และ อินฟราเรด (IR) ได้อีกด้วย
  • ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) ลดปัญหาคราบขาวบนผิว
  • ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) ลดความเสี่ยงจากการระคายเคือง เนื่องจากมีการผสมของทั้งสองประเภท
  • ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) ทนต่อเหงื่อและน้ำ
  • ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) มีประสิทธิภาพสูงและปกป้องผิวได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ข้อเสียของครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen)

  • ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) มีต้นทุนการผลิตสูง เนื่องจากต้องใช้ทั้งสารกันแดดเคมี (Chemical Filters) และสารกันแดดฟิสิคอล (Physical Filters)
  • ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ในบางบุคคล
  • ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) เนื้อสัมผัสอาจไม่บางเบาเท่ากับครีมกันแดดประเภทเคมี
  • ครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) ราคาจำหน่ายสูงกว่าครีมกันแดดทั่วไป

 

ครีมกันแดดมีกี่ประเภท

ครีมกันแดดแต่ละประเภทแตกต่างกันยังไง ?

ครีมกันแดดประเภทเคมี  (Chemical Sunscreen) และครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) มีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ โดยความแตกต่างหลัก ๆ ของครีมกันแดดสองประเภทนี้จะมีอยู่ 3 ประการ ดังนี้

 

  • กลไกการปกป้องผิวจากรังสี UV

ครีมกันแดดประเภทเคมี (Chemical

Sunscreen) จะปกป้องผิวด้วยการเปลี่ยนรังสี UV เป็นพลังงานความร้อนแล้วปล่อยออกจากผิว ในขณะที่ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) จะปกป้องผิวผ่านการสะท้อนหรือกระจายรังสี UV ออกจากผิวไป

  • เนื้อสัมผัสและความสบายขณะการใช้งาน

ครีมกันแดดประเภทเคมี  (Chemical Sunscreen) มักมีเนื้อบางเบา ซึมซาบเร็ว ไม่ทิ้งคราบขาว ต่างจากครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) จะให้เนื้อครีมที่หนักกว่า และมักทิ้งคราบขาวบนผิว โดยเฉพาะในผู้บริโภคที่มีผิวสีเข้ม

  • ความเหมาะสมกับผิว และความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม

ครีมกันแดดประเภทเคมี  (Chemical Sunscreen) มักไม่เกิดการระคายเคืองในผิวแพ้ง่าย และสารเคมีบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต่างจากครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) ที่มีความอ่อนโยนกว่า และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า

 

ซึ่งครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) เป็นครีมกันแดดที่รวมข้อดีและปรับปรุงข้อเสียของทั้งสองประเภท ทำให้ครีมกันแดดที่ได้มีคุณสมบัติที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

 

ครีมกันแดดแบบ Physical และ Chemical อันไหนป้องกันรังสี UV ได้ดีกว่ากัน ?

การเปรียบเทียบการป้องกันรังสี UV ระหว่างครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) และครีมกันแดดประเภทเคมี  (Chemical Sunscreen) มีคุณสมบัติที่ป้องกันได้ดีแตกต่างกันออกไปขึ้นได้อยู่กับหลายปัจจัย โดยทั้งสองประเภทมีคุณสมบัติในการป้องกันรังสี UV ที่แตกต่างกัน ดังนี้

 

  • ครีมกันแดดประเภทเคมี  (Chemical Sunscreen) ปกป้องผิวจากรังสี UV ด้วยการดูดซับรังสี UV เปลี่ยนเป็นความร้อนออกจากผิว และในบางสูตรสามารถป้องกันได้ดีทั้งรังสี UVA และ UVB และป้องกันได้ดีมากในช่วงคลื่น UBV ที่ทำให้ผิวไหม้แดด
  • ครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) ปกป้องผิวได้ทันทีด้วยการสะท้อนและกระจายรังสี ไม่ต้องรอให้ซึมเข้าผิว ซึ่งสามารถป้องกันได้ทั้งรังสี UVA และรังสี UVB แต่อาจไม่สามารถป้องกันบางคลื่นของรังสี UV ได้ดีเท่ากับครีมกันแดดประเภทเคมี  (Chemical Sunscreen)

 

สรุปได้ว่าหากแบรนด์ต้องการผลิตครีมกันแดดที่สามารถ ป้องกันผิวจากรังสี UV ได้ทันที และมีความอ่อนโยนการเลือกผลิตครีมกันแดดประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) ถือเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ในขณะที่หากต้องการผลิตครีมกันแดดที่ป้องกันรังสี UV ได้หลากหลาย การผลิตครีมกันแดดประเภทเคมี  (Chemical Sunscreen) เพื่อจัดจำหน่ายอาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ทั้งนี้ถ้าหากต้องการการป้องกันผิวทั้งสองแบบรวมกัน แบรนด์สามารถพัฒนาสูตรเป็นแบบครีมกันแดดประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) ได้เช่นเดียวกัน

ครีมกันแดดมีกี่รูปแบบ ? ต้องเลือกผลิตครีมกันแดด รูปแบบไหนดีที่สุด 

การผลิตครีมกันแดด เพื่อจัดจำหน่ายในท้องตลาดในปัจจุบัน มีหลายรูปแบบที่ถูกผลิตออกมา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยการผลิตครีมกันแดดแต่ละรูปแบบมีเนื้อสัมผัส ความเหมาะสมของแต่ละบุคคล รวมถึงข้อดี และข้อด้อยที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการผลิตครีมกันแดดสามารถได้หลายรูปแบบ เช่น ผลิตครีมกันแดดรูปแบบเจล , ผลิตครีมกันแดดรูปแบบสเปรย์ หรือผลิตครีมกันแดดรูปแบบแท่ง เป็นต้น 

 

ซึ่งการเลือกรูปแบบการผลิตครีมกันแดดมีหลายปัจจัย ที่เจ้าของแบรนด์ต้องคำนึงถึง  เพื่อให้ครีมกันแดดที่ผลิตออกมาตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด โดยเจ้าของแบรนด์สามารถพิจารณา เลือกรูปแบบการผลิตครีมกันแดดได้จากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • เลือกรูปแบบการผลิตครีมกันแดดจาก อายุ ไลฟ์สไตล์ สภาพผิวของกลุ่มเป้าหมาย
  • เลือกรูปแบบการผลิตครีมกันแดดจาก ลักษณะการใช้งานของกลุ่มเป้าหมาย
  • เลือกรูปแบบการผลิตครีมกันแดดจาก เนื้อสัมผัสและรูปแบบของผลิตภัณฑ์
  • เลือกรูปแบบการผลิตครีมกันแดดจาก ความเหมาะสมกับส่วนผสม
  • เลือกรูปแบบการผลิตครีมกันแดดจาก ข้อกฎหมาย และมาตรฐานความปลอดภัย
  • เลือกรูปแบบการผลิตครีมกันแดดจาก ต้นทุนการผลิตที่ตั้งไว้
  • เลือกรูปแบบการผลิตครีมกันแดดจาก การตลาด และความต้องการของผู้บริโภค

 

ดังนั้นการเลือกรูปแบบของครีมกันแดดไม่สามารถสรุปได้โดยตรงว่า การผลิตครีมกันแดดรูปแบบใดดีที่สุด แต่สามารถพิจารณาเลือกได้จากปัจจัยต่าง ๆ เพื่อเลือกรูปแบบครีมกันแดดให้เหมาะสมกับแบรนด์และกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

ครีมกันแดดสามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทเคมี  (Chemical Sunscreen) , ประเภทฟิสิคอล (Physical Sunscreen) และประเภทประเภทไฮบริด (Hybrid Sunscreen) ที่ผสมการทำงานของครีมกันแดดของสองประเภทเข้าด้วยกัน ซึ่งการทำงานของครีมกันแดดแต่ละประเภทนั้นมีความแตกต่างกันหลายประการ อีกทั้งยังมีข้อดีและข้อด้อยแตกต่างกันออกไป นอกจากนี้การผลิตครีมกันแดดยังสามารถผลิตได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ทำให้เจ้าของแบรนด์ที่ต้องการผลิตครีมกันแดดเพื่อจัดจำหน่าย จำเป็นจะต้องเลือกผลิตครีมกันแดดประเภทที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และเลือกรูปแบบการผลิตครีมกันแดดให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคอีกด้วย

เจ้าของแบรนด์ท่านใดที่กำลังมองหาโรงงานผลิตครีมกันแดดแบบครบวงจร สามารถเข้ามาปรึกษา และวางแผนการผลิตครีมกันแดดได้ ที่ Pure Derima Laboratories (PDL) โรงงานผลิตครีมกันแดดที่มีประสบการณ์การผลิตกว่า 10 ปี ในการผลิตผลิตภัณฑ์ให้แบรนด์ดังมากกว่า 1,000 แบรนด์ ด้วยมาตรฐานการผลิตครีมกันแดดระดับสากล อีกทั้งยังรองรับการผลิตครีมกันแดดหลากหลายรูป พร้อมบริการอย่างครบวงจร ตั้งแต่เริ่มต้นจนพร้อมสู่การจัดจำหน่าย