SPF คืออะไร ผลิตครีมกันแดดต้องใช้ SPF เท่าไร
รังสี UV คืออะไร ?
รังสี UV คือรังสีที่มาจากแสงแดด สามารถทำลายผิวหนังได้หลายอย่าง หากสัมผัสโดยตรง เป็นเวลานาน ซึ่งสามารถทำลายผิวหนังได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งการป้องกันรังสี UV เหล่านี้ได้ดีคือการทาครีมกันแดด ที่มีการป้องกันรังสี UV เพื่อให้ผิวไม่ได้รับความร้อนจากแสงแดด และได้รับรังสี UV โดยตรง
รังสี UV มีกี่ประเภท ?
- รังสียูวีเอ (UVA) คือ รังสีอัตราไวโอเลตชนิด A (ultraviolet A-rays) ที่มีความยาวรังสีสูงถึง 300-400 MM โดยเป็นคลื่นแสงที่สามารถพบได้ตามทั่วไปในยามกลางวันช่วงเวลาที่แดดจ้า และเป็นรังสีที่มีอัตราเข้าถึงสภาพผิวหนังของมนุษย์สูงเป็นอย่างมาก เนื่องจาก UVA คือรังสีที่มีอัตราความเข้มข้นในการเข้าถึงผิวหนังชั้นในมนุษย์สูง แม้อยู่ในที่ร่ม รังสี UVA นี้สามารถเดินทางทะลุผ่านกระจกในอาคารได้ หากผิวได้รับรังสีมากเกินไปจะทำให้สุขภาพผิวหนังเสื่อมโทรม เหี่ยวหย่น ผิวคล้ำ หน้าหมองคล้ำ ฝ้า หรือ ฝ้าแดด รวมถึงจุดด่างดำด้วย และอาจทำให้ผิวหนังแปรสภาพแก่ก่อนวัยอันควร
- รังสียูวีบี (UVB) คือ รังสีอัตราไวโอเลตชนิด B (ultraviolet B-rays) ที่มีความยาวรังสีสูงถึง 290-320 MM โดยเป็นคลื่นแสงที่เป็นรังสีที่มีอัตราเข้าถึงสภาพผิวหนังของมนุษย์ต่ำกว่ารังสี UVA แต่มีคลื่นพลังงานที่สามารถปรับสภาพผิวชั้นนอกให้แปรสภาพเป็นภาวะ ผิวไหม้แดด และบางบริเวณของผิวอาจเกรียมแดดในระยะสั้น หากปล่อยให้รับรังสี UVB ระยะยาวอาจก่อให้เกิดการกระตุ้น DNA ใต้ผิวหนังเปลี่ยนสภาพเซลล์เป็นมะเร็งผิวหนังได้
- รังสียูวีซี (UVC) เป็นรังสีที่มีช่วงความยาวคลื่น 100 – 280 nm ช่วงความยาวคลื่นสั้นที่สุด มีความสามารถในการทำลายเชื้อโรคหรือเรียกว่า Ultraviolet Germicidal Irradiation (UVGI) ซึ่งทำลายเชื้อโรคไม่ว่าจะเป็น แบคทีเรีย ไวรัส ราเส้นใย ยีสต์ เป็นต้น เดิมทีโอโซนจะกรองรังสีนี้ไว้ได้ทั้งหมด แต่ปัจจุบันเนื่องจากมนุษย์ก่อมลพิษจนไปทำลายชั้นโอโซนให้บางลง รังสี UVC จึงทะลุชั้นโอโซนมายังพื้นโลกได้เพิ่มขึ้น
รังสี UV-C เป็นรังสี UV ซึ่งเป็นรังสีที่ มีอันตรายต่อร่างกายได้อย่างรุนแรง เช่น ผิวแดงไหม้เกรียม (Erythema) หรือ เยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) ซึ่งเราประยุกต์มาทำ ประโยชน์ในการฆ่าเชื้อโรคได้
ทั้งนี้ รังสี UV-C โดยจะทำลายโครงสร้างกรดนิวคลีอิกซึ่งเป็นองค์ประกอบของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอของเชื้อโรค โดยตามมาตรฐานสากล เช่น CIE,DIN,IESNA ระบุว่า UVGI ครอบคลุมความยาวคลื่นสั้นประมาณ 200-313 nm โดยความยาวคลื่น 260-265 nm ซึ่งเป็นความยาวคลื่นที่ดีเอ็นเอของดูดซับได้ดีที่สุด
SPF คืออะไร ?
SPF หรือ Sun Protection Factor คือ ค่าตัวเลขที่ใช้บอกถึงความสามารถของครีมกันแดด ในการป้องการรังสี UVB จากแสงแดด ซึ่งเป็นรังสีที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับผิวหนังหลายอย่าง โดยครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง จะสามารถปกป้องผิวจากรังสี UVB ได้ดี และนานกว่า เมื่อเทียบกับครีมกันแดดที่มีค่า SPF ต่ำกว่า
SPF ในครีมกันแดดทำงานอย่างไร ?
การทำงานหลักของ SPF ในครีมกันแดดที่เรารู้จักจะเป็นค่าที่บอกถึงระยะเวลาที่ผิวสามารถทนต่อแดดได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับการที่ไม่ได้ทาครีมกันแดด และระดับการป้องกันรังสี UVB โดยสามารถอธิบายหลักการทำงาน ของค่า SPF ในครีมกันแดดเพิ่มเติมได้ ดังนี้
- SPF ในครีมกันแดดช่วยบอกระดับการป้องกัน UVB
โดยค่า SPF ในครีมกันแดด สามารถบอกได้ถึงระดับการป้องกันรังสี UVB ซึ่งกำหนดค่าป้องกันเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น SPF 15 สามารถป้องกันรังสี UVB ได้ประมาณ 93% เป็นต้น
- SPF ในครีมกันแดดช่วยบอกเวลาในการป้องกันผิวจากรังสี UVB
นอกจากค่า SPF ในครีมกันแดดจะช่วยบอกถึงระดับการป้องกันรังสี UVB แล้วนั้น ยังสามารถช่วยบอกถึงเวลา ที่สามารถป้องกันผิวหนัง จากการถูกรังสี UVB แผดเผาได้อีกด้วย เช่น ครีมกันแดดที่มี SPF 30 จะช่วยป้องกันผิวกลางแดด ได้ประมาณ 3 ชั่วโมงหรือ 300 นาที
SPF กับ PA แตกต่างกันอย่างไร ?
ค่า SPF และ PA เป็นค่าที่บ่งบอกประสิทธิภาพในการป้องกันผิวจากรังสี UV ที่ระบุอยู่ในครีมกันแดดทั้งคู่ แต่ทั้งสองค่ามีความแตกต่างกัน ดังนี้
- ค่า SPF ในครีมกันแดด เป็นค่าที่บอกถึงประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVB ป้องกันผิวไหม้ และลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนังจากรังสี UVB ในแสงแดด
- ค่า PA ในครีมกันแดด เป็นค่าที่บ่งบอกประสิทธิภาพในการป้องกันผิวจากรังสี UVA ป้องกันการเกิดริ้วรอย จุดด่างดำ ผิวหมองคล้ำ ช่วยให้ผิวดูอ่อนเยาว์และมีสุขภาพดี
ค่า SPF และ PA มีประสิทธิภาพในการกันแดด UV ที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ผลิตควรจะทั้งสองค่าในครีมกันแดด เพื่อให้ครีมกันแดดมีผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมการป้องกันที่หลากหลาย
วิธีการคำนวณค่า SPF ในครีมกันแดด
การคำนวณค่า SPF เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก ไม่สามารถทำได้เองที่บ้าน เพราะต้องใช้ความรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และยังต้องใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้มั่นใจว่าค่า SPF ที่ระบุบนผลิตภัณฑ์นั้นถูกต้องและเชื่อถือได้ หากผู้ผลิตต้องการตรวจสอบค่า SPF ในครีมกันแดดของตัวเองนั้นสามารถยื่นตรวจได้กับโรงงานที่รับตรวจสอบ หรือในโรงงานผลิตบางแห่งที่มีมาตรฐาน อาจมีการตรวจสอบพร้อมกับเอกสารรับรองให้เลย เพื่อไปยื่นขอฉลากที่องค์กรอาหารและยา
โดยผลลัพธ์การทดสอบที่ได้นั้นจะระบุค่า SPF บนฉลากครีมกันแดด เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการของตนเอง ซึ่งในประเทศไทยทางองค์กรอาหารและยาจะให้ค่าระบุ SPF ไม่เกิน 50 ถ้าเกินกว่าน้้น จะระบุได้เป็น SPF +
ความแตกต่างระหว่าง SPF 15, 30, และ 50 ในครีมกันแดด
ค่า SPF แต่ละค่าในครีมกันแดดมีความแตกต่างกันในหลายด้านทั้งระดับการปกป้องรังสี UVB , ระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้งาน และระยะเวลาในการทนต่อแสงแดดโดยสามารถระบุความแตกต่างของ SPF 15, 30, และ 50 ในครีมกันแดดได้ ดังนี้
- ค่า SPF 15 ในครีมกันแดด
- ค่า SPF 15 ในครีมกันแดดสามารถปกป้องผิวจากรังสี UVB จากแดดได้ 93 %
- การทาครีมกันแดด SPF 15 จะป้องกันผิวจากแสงแดดได้ 150 นาที (หากปกติผิวเริ่มไหม้ในเวลา 10 นาที)
- ค่า SPF 15 ในครีมกันแดดสามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวันในผู้ที่ไม่ได้เจแสงแดดมาก
- ค่า SPF 30 ในครีมกันแดด
- ค่า SPF 30 ในครีมกันแดดสามารถปกป้องผิวจากรังสี UVB จากแดดได้ 97 %
- การทาครีมกันแดด SPF 30 จะป้องกันผิวจากแสงแดดได้ 300 นาที (หากปกติผิวเริ่มไหม้ในเวลา 10 นาที)
- ค่า SPF 30 ในครีมกันแดดเหมาะกับผู้ที่เจอแสงแดดบ้าง เช่น เจอแสงแดดในตอนเดินเล่น
- ค่า SPF 50 ในครีมกันแดด
- ค่า SPF 50 ในครีมกันแดดสามารถปกป้องผิวจากรังสี UVB จากแดดได้ 98 %
- การทาครีมกันแดด SPF 50 จะป้องกันผิวจากแสงแดดได้ 500 นาที (หากปกติผิวเริ่มไหม้ในเวลา 10 นาที)
- ค่า SPF 50 ในครีมกันแดดเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องเจอแสงแดดหนักกลางแจ้ง เป็นเวลานาน ๆ ตลอดทั้งวัน เช่น ผู้ที่ไปทะเล หรือผู้ที่เล่นกีฬากลางแจ้ง ทำงานกลางแจ้ง เป็นต้น
ควรผลิตครีมกันแดดที่มีค่า SPF เท่าไหร่ ?
ค่า SPF ในครีมกันแดดสามารถผลิตได้หลายค่า ตามความต้องการการใช้งานของผู้บริโภค
โดยค่า SPF มาตรฐานในครีมกันแดดที่เน้นการปกป้องผิวหนังจากแสงแดดควรผลิตครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 – 50 ขึ้นไป และถ้าหากต้องการผลิตผลิตภัณฑ์ความงามที่สามารถกันแดดได้บ้าง เช่น รองพื้น สามารถใช้ค่า SPF ต่ำกว่า 30 ลงมาได้ แต่ควรแจ้งในผลิตภัณฑ์ว่าไม่แนะนำ สำหรับการใช้งานกลางแจ้ง เหมาะกับการใช้งาน ในชีวิตประจำวันในที่ร่มเป็นหลัก
สารสกัดในครีมกันแดดที่ทำให้ค่า SPF สูง
การที่จะผลิตครีมกันแดดที่มีค่า SPF ที่สูงนั้น แน่นอนว่าสารสกัดในครีมกันแดดต้องมีหลากหลายชนิดรวมกัน เพื่อให้ได้ค่า SPF ที่ต้องการที่สามารถป้องกันรังสี UV จากแสงแดดได้ โดยสารสกัดเหล่านี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ สารกันแดดทางกายภาพ แบะสารกันแดดทางเคมี ซึ่งทั้งสองประเภทมีความแตกต่างกัน ดังนี้
- สารกันแดดทางกายภาพ (Physical Sunscreen) สารกันแดดประเภทนี้จะช่วยสะท้อนและกระจายรังสี UV ออกจากผิว ทำให้ผิวไม่ต้องสัมผัสกับรังสี UV โดยตรง ซึ่งข้อดีของสารกันแดดนี้คือมีความอ่อนโยน เหมาะกับผิวแพ้ง่าย ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง โดยสารกันแดดที่นิยมใช้คือ ไททาเนียมไดออกไซด์ และสังกะสีออกไซด์
- สารกันแดดทางเคมี (Chemical Sunscreen) สารกันแดดประเภทนี้ทำหน้าที่ดูดซับรังสี UV และเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนแล้วปล่อยออกจากผิวหนัง มักมีเนื้อบางเบา ไม่ขาวหนา แต่อาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ในบางบุคคล ควรทดสอบให้ดีก่อนนำออกไปจัดจำหน่าย ซึ่งสารที่นิยมใช้ เช่น ออกติโนเซท หรือโอคติซาเลท เป้นต้น
โดยผู้ผลิตครีมส่วนใหญ่มักใช้ทั้งสารกันแดดทางกายภาพ ร่วมกับ สารกันแดดทางเคมี เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การป้องกันที่ครอบคลุมทั้งการป้องกันรังสี UVA และรังสี UVB และให้ได้ค่า SPF ที่สูงตามที่ต้องการ
ครีมกันแดด SPF สูง ทำให้ผิวระคายเคืองไหม ?
ในผู้บริโภคบางคนอาจจะมีการระคายเคืองได้บ้าง เมื่อใช้ครีมกันแดดที่มี SPF สูง ๆโดยเหตุผลที่ทำให้บางคนอาจรู้สึกผิวระคายเคืองจากการใช้ครีมกันแดด SPF สูง มีได้ดังนี้
- ระคายเคืองจากความเข้มข้นของสารในครีมกันแดด ซึ่งในครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง ๆ มักจะมีสารกันแดดที่เข้มข้น ทำให้บางคนอาจจะรู้สึกไม่สบายผิว หรือระคายเคืองได้เช่นกัน
- ระคายเคืองจากการแพ้ส่วนผสมบางอย่างในครีมกันแดด สาเหตุจากการที่ระคายเคืองผิวจากครีมกันแดดที่มี SPF สูงอาจจะเป็นไปได้ที่ผู้ใช้อาจจะแพ้ส่วนผสมบางอย่างที่อยู่ในครีมกันแดด
แต่ทั้งนี้การระคายเคืองผิวไม่ได้เกิดจากค่า SPF ที่สูงอย่างเดียวเสมอไป การระคายเคืองผิวหลังใช้ครีมกันแดดเกิดขึ้นได้กับหลายปัจจัย เช่น การระคายเคืองจากส่วนผสมอื่น ๆ ในครีมกันแดด , ผู้ใช้มีสภาพผิวบอบบางเกินไป หรือการใช้ครีมกันแดดในปริมาณที่มาก และใช้ถี่เกินไป
ทำไมการผลิตครีมกันแดดต้องมี SPF ?
สาเหตุที่การผลิตครีมกันแดดควรมีค่า SPF มีความสำคัญหลายอย่าง ทั้งด้านของผู้บริโภคในเรื่องความปลอดภัย และความสำคัญด้านการตลาดของผู้ผลิต โดยเหตุผลหลัก ๆ ที่ ครีมกันแดดควรมีค่า SPF สามารถสรุปได้ ดังนี้
- SPF ในครีมกันแดดช่วยบอกค่าป้องกันผิวจากรังสี UVB ในผู้ที่ต้องตากแดดเป็นประจำในช่วงเวลาที่ร้อนจัด การทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF สามารถช่วยปกป้องผิวหนังจากรังสี UVB ที่จะมาทำร้ายผิวได้ หากไม่ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF หรือไม่ทาครีมกันแดดเลย เสี่ยงต่อการที่ผิวหนังถูกทำร้ายจากแสงแดดมากมาย
- SPF ในครีมกันแดดช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งผิวหนัง หนึ่งในโรคผิวหนังที่เป็นจากการที่ผิวหนังได้รับรังสี UVB มาก ๆ เป็นประจำ คือโรคมะเร็งผิวหนัง ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดได้ ด้วยการทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง ๆ เมื่อต้องตากแดดร้อนจัดเป็นประจำ
- SPF ในครีมกันแดดช่วยผิวดูอ่อนเยาว์ ในการทาครีมกันแดดที่มี SPF เป็นประจำ จะทำให้ผิวหนังของผู้ที่ใช้ครีมกันแดด เสียหายจากแสงแดดน้อยลง ทำให้ช่วยยืดอายุการใช้งานของผิว ทำให้ผิวฟื้นฟูได้ดี ดูอ่อนเยาว์ได้ยาวนาน
- SPF ในครีมกันแดดช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ในแง่ของผู้บริโภค การที่ครีมกันแดดมี SPF จะทำให้มั่นใจได้ว่าครีมกันแดดนั้นสามารถกันแดดได้จริง ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นและกล้าตัดสินใจใช้ครีมกันแดดนั้นตามความต้องการ
- SPF ในครีมกันแดดตอบสนองความต้องการของตลาด ในการจัดจำหน่ายครีมกันแดดในหลายประเทศ มีการกำหนดให้มี SPF ในครีมกันแดด ตามมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในสินค้า และเพื่อเป็นการรับรองได้ว่าผู้บริโภคได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพ สามารถใช้งานได้จริง
ผลิตครีมกันแดดแบบไม่มี SPF ได้ไหม ?
ไม่ควรผลิตครีมกันแดดที่ไม่มี SPF ออกขาย เพราะผิดกับข้อกฎหมายของไทย ที่ระบุว่าผลิตภัณฑ์ที่เคลมว่าเป็นครีมกันแดด จะต้องมีการทดสอบ และระบุค่า SPF บนฉลากอย่างชัดเจน อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภค และอาจถูกพิจารณาว่าเป็นการ โฆษณาอันเป็นเท็จ เมื่อนำครีมกันแดดจัดจำหน่าย จากการโฆษณา และจัดจำหน่ายครีมกันแดดที่ไม่มีการะบุค่า SPF ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่า ครีมกันแดดนั้นสามารถป้องกันแสงแดดได้ แต่ในความเป็นจริงครีมกันแดดนั้น ไม่สามารถปกป้องได้เพียงพอ
ดังนั้นผู้ที่ต้องการผลิตครีมกันแดดออกจัดจำหน่าย ควรมีการทำการทดสอบการป้องกันรังสี UVB และกำหนดค่าบนฉลากอย่างชัดเจนให้เรียบร้อย ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
ข้อควรรู้ก่อนผลิตครีมกันแดดที่มีค่า SPF
ก่อนจะเริ่มทำการผลิตครีมกันแดดที่ได้มาตรฐาน และผ่านการตรวจสอบค่า SPF ให้ได้ตามต้องการ ควรทราบข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้การผลิตครีมกันแดดมีคุณภาพ ปลอดภัย และเป็นไปตามข้อกฏหมาย ดังนั้นจึงมีข้อควรรู้ ดังนี้
- มาตรฐานและข้อกำหนดทางกฎหมาย
การผลิตครีมกันแดดที่มีค่า SPF เพื่อจัดจำหน่ายในประเภทไทยทั้งหมด ต้องได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา ซึ่งต้องผ่านกระบวนการทดสอบว่าปลอดภัย และการทดสอบการป้องกันรังสี UVB ในครีมกันแดดตามมาตรฐานที่องค์กรอาหารและยากำหนดไว้ด้วย
แต่ถ้าหากต้องการการจัดจำหน่ายครีมกันแดดที่มีค่า SPF ในต่างประเทศ ก็ควรศึกษาข้อกำหนดในแต่ละประเทสให้ดี เพราะในแต่ละประเทศมีข้อกำหนดทางกฎหมายในการจัดจำหน่ายครีมกันแดดที่มีค่า SPF ที่แตกต่างกันออกไป
- การโฆษณาและฉลาก
ในการจัดจำหน่ายครีมกันแดดที่มีการกำหนดค่า SPF การระบุรายละเอียดของค่า SPF เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ครีมกันแดดได้เหมาะกับการใช้งานและสภาพผิวของตนเอง
- ต้นทุนและราคาผลิตภัณฑ์
การผลิตครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง ๆ อาจมีค่าใช้จ่ายในด้านของต้นทุนที่สูงมากขึ้น จากปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงต่าง ๆ หลายด้าน ทั้งในด้านของสารกันแดด และการทดสอบการแพ้ และการทดสอบความปลอดภัยต่าง ๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสูตรให้สามารถป้องกันรังสี UV ได้ดี และซึมง่าย ไม่ทิ้่งคราบ ดังนั้นผู้ที่ต้องการผลิตครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง ควรคำนึงและคำนวณต้นทุนการผลิตให้ดี ก่อนเริ่มผลิต
- การเลือกโรงงานผลิต
ผู้ผลิตที่ต้องการผลิตครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงในการเลือกโรงงานการผลิตมีผลต่อการผลิตครีมกันแดดเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
- ความสามารถในการพัฒนาสูตรครีมกันแดด โรงงานผลิตครีมกันแดดที่ได้มาตรฐานจะมีประสบการ์ณด้านการผลิตครีมกันแดดที่มี SPF และมีความรู้ในด้านการพัฒนาสูตรครีมกันแดดที่มี SPF และสามารถปรับสูตรให้ได้เนื้อครีมที่ซึมง่าย ไม่ทิ้งคราบ ตอบโจทย์ผู้บริโภค
- การควบคุมคุณภาพและการทดสอบครีมกันแดด โรงงานผลิตครีมกันแดดที่ได้รับการรับรองจากมาตรฐานการผลิต GMP จะมีการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวดและความปลอดภัยตามที่กำหนด อีกทั้งโรงงานยังสามารถทดสอบ SPF ในห้องการปฏิบัติมาตรฐาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ครีมกันแดดที่ผลิตออกมา มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UV ได้จริง
- การใช้สารกันแดดที่มีคุณภาพที่มีคุณภาพในครีมกันแดด ในการผลิตครีมกันแดด SPF สูงต้องใช้ สารกันแดดที่มีคุณภาพสูง การเลือกโรงงานที่สามารถหาสารกันแดดที่มีคุณภาพสูง และสามารถจัดการกับส่วนผสมที่มีราคาสูงได้ดีเป็นสิ่งสำคัญ เพราะโรงงานที่มีความเชี่ยวชาญจะสามารถควบคุมคุณภาพของสารกันแดดให้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงคงทนต่อการใช้งาน
- การรับรองและมาตรฐานที่ต้องปฏิบัติตาม โรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO, GMP หรือ FDA จะสามารถให้ความมั่นใจ ว่าผลิตภัณฑ์ปลอดภัย และมีคุณภาพ ทำให้ผลิตภัณฑ์ของคุณมีความน่าเชื่อถือในตลาด
- การทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพครีมกันแดด โรงงานที่มีการทดสอบความปลอดภัยและการทดสอบประสิทธิภาพ จะทำให้มั่นใจได้ว่าครีมกันแดดที่ผลิตออกมาจะไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว และสามารถปกป้องผิวจากรังสี UV ได้ตามที่ระบุในฉลาก
ข้อควรระวังในการผลิตครีมกันแดดที่มี SPF สูง
หากต้องการผลิตครีมกันแดดที่มี SPF สูง ควรระมัดระวังหลายอย่าง เพื่อให้ผลิตครีมกันแดดได้มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย ซึ่งการผลิตครีมกันแดดที่มี SPF สูงมีข้อควรระวัง ดังนี้
- การเลือกใช้สารกันแดดในครีมกันแดดที่มี SPF สูง
ขั้นตอนการเลือกใช้สารกันแดดเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ในการผลิตครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง เพราะสารที่ใช้ในครีมกันแดด ไม่ว่าจะเป็นสารกันแดดชนิดเคมี หรือสารกันแดดชนิดกายภาพ ต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพในการกันแดด ควบคู่ไปกับความปลอดภัยของผู้บริโภคด้วย
- การทดสอบ และการรับรองการปกป้องแสงแดด
ขั้นตอนการทดสอบ และการรับรองประสิทธิภาพของครีมกันแดดที่มี SPF สูง เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ในการยืนยันว่าครีมกันแดดนั้น สามารถป้องกันผิวจากรังสี UV ได้อย่างดีและปลอดภัย
โดยในการผลิตครีมกันแดดควรผ่านการทดสอบ ให้ครบถ้วนทั้งหมด เช่น การทดสอบ Broad-Spectrum Protection , การทดสอบความคงทนต่อเหงื่อและน้ำ , การทดสอบในสภาวะแสงแดดจำลอง หรือการทดสอบความปลอดภัยต่อการใช้งาน เป็นต้น
- ความคงตัวของครีมกันแดด
การผลิตครีมกันแดดที่มี SPF สูง มักต้องใช้สารกันแดดเข้มข้น หลายสูตร เพื่อให้สามารถป้องกันรังสี UV ได้ดี ซึ่งการใช้สารกันแดดหลายอย่าง อาจส่งผลต่อการคงตัวของครีมกันแดดได้ เช่น การเปลี่ยนสี หรือการแยกชั้น ในครีมกันแดด
ดังนั้นการทดสอบการคงตัวของครีมกันแดด จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ยืนยันได้ว่าครีมกันแดด จะยังคงประสิทธิภาพในการป้องกันผิวจากรังสี UV ได้ตลอดอายุการเก็บรักษาของครีมกันแดด
- ความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
ในการเลือกใช้สารกันแดดในครีมกันแดดที่มีสาร SPF สูง นอกจากจะคำนึงถึงประสิทธิภาพในการป้องกันผิวหนังจากรังสี UV และความปลอดภัยของผู้บริโภคแล้ว ควรคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เนื่องจากสารเคมีบางชนิดส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นพิษต่อระบบนิเวศในระยะยาวได้
ดังนั้นการเลือกใช้สารเคมีในครีมกันแดด ควรเลือกการใช้สารที่ปลอดภัยต่อธรรมชาติ และใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้
- ข้อจำกัดและข้อกำหนดทางกฎหมาย
การกำหนดค่า SPF ในผลิตภัณฑ์มีข้อจำกัดในการกำหนดค่า SPF สูงสุด เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดของผู้บริโภคเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และระยะเวลาในการป้องกันจากแสงแดด โดยในแต่ละประเทศมีการกำหนดค่าสูงสุดไม่เท่ากัน
ผู้ผลิตครีมกันแดด ควรปฏิบัติตามข้อกำหนดในแต่ละประเทศ อย่างเคร่งครัด ในด้านการระบุ SPF และการให้คำแนะนำการใช้งานบนฉลาก
- เนื้อสัมผัส และความรู้สึกบนผิวเมื่อใช้ครีมกันแดด
การผลิตครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง อาจต้องใช้สารเคมีที่หลากหลายชนิด และมีความเข้มข้นสูง ซึ่งสารเคมีที่หลากหลาย อาจจะส่งผลต่อความหนาแน่นของครีม หรืออาจจะมีความเหนียวเหนอะหนะ คราบขาวบนผิวได้มากกว่า ครีมกันแดดที่มี SPF ต่ำ
ดังนั้นผู้ผลิตควรปรับสูตรต่าง ๆ เพื่อให้ครีมกันแดดมีความเบาบาง ไม่เหนอะหนะ และง่ายต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
- การทดสอบการแพ้ในครีมกันแดด
การทดสอบการแพ้ และการระคายเคืองในครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง มีความจำเป็นเป็นอย่างมาก เพราะสารเคมีที่หลากหลายในครีมกันแดด SPF สูง ๆ อาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง หรืออาการแพ้ได้ในบางคน เนื่องจากสารที่เข้มข้นจะไปกระตุ้นการตอบสนองของผิวหนังที่บอบบาง หรือผิวที่มีแนวโน้มแพ้ง่ายได้ง่ายกว่าครีมกันแดดที่มีค่า SPF ต่ำ
การผลิตครีมกันแดดที่มีการกำหนดค่า SPF มีความสำคัญอย่างมากในประเทศไทยทั้งในแง่ของกฎหมาย และความปลอดภัยของผู้บริโภค อีกทั้งยังส่งผลโดยตรงกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์ครีมกันแดด และหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญเป็นอย่างมากในการผลิตครีมกันแดด คือการเลือกโรงงานที่ได้มาตรฐาน
หากผู้ประกอบการท่านใดต้องการผลิตครีมกันแดดที่มี SPF ถูกต้อง มองหาโรงงานที่ผ่านการรับรองการผลิตภายใต้มาตรฐาน ISO และ GMP สามารถเข้ามาติดต่อสอบถามเพื่อการผลิตได้ที่ Pure Derima Laboratories (PDL) โรงงานของเราจะช่วยผลิตครีมกันแดดที่มี SPF ที่มีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันผิวหนังจากรังสี UVB ได้จริง และยังมีการตรวจสอบค่า SPF ในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน มีเอกสารยืนยันการตรวจสอบ เพื่อยื่นให้กับองค์กรอาหารและยาในการขอฉลากติดบนผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย