รวมคำถามที่ควรรู้ก่อนการผลิตครีมกันแดด
กำลังสงสัยเรื่องการผลิตครีมกันแดดอยู่ใช่ไหมคะ ? บทความนี้ได้ “รวมคำถามที่ควรรู้ก่อนการผลิตครีมกันแดด” มาให้แล้ว ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของแบรนด์มือใหม่ที่กำลังอยากเริ่มธุรกิจครีมกันแดด หรือเจ้าของแบรนด์ที่มีประสบการณ์มาก่อน บทความนี้ก็มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาฝาก ไม่ว่าจะเป็นการเลือกโรงงานการผลิต หรือการเลือกใช้ค่า SPF และPA ในครีมกันแดด เราจะช่วยให้คุณเข้าใจกระบวนการผลิตครีมกันแดดอย่างละเอียด เพื่อให้คุณสามารถผลิตครีมกันแดดที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและสร้างความแตกต่างให้กับครีมกันแดดของคุณได้ค่ะ
วิธีเริ่มต้นผลิตครีมกันแดด สำหรับเจ้าของแบรนด์มือใหม่
สำหรับผู้ที่มีความสนใจอยากผลิตครีมกันแดด เพื่อสร้างแบรนด์ของตัวเอง ควรมีการวางแผนและทำความเข้าใจถึงกระบวนการผลิตครีมกันแดดอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ได้ครีมกันแดดที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด สำหรับผู้ที่ต้องการผลิตครีมกันแดด สามารถเริ่มต้นได้ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 สำรวจและวิเคราะห์ตลาดครีมกันแดด
หากคุณต้องการผลิตครีมกันแดดเพื่อจัดจำหน่าย จำเป็นต้องสำรวจตลาดและวิเคราะห์แนวโน้มของตลาดครีมกันแดดก่อนว่า ครีมกันแดดประเภทและรูปแบบใดที่กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภค อีกทั้งยังควรศึกษาแบรนด์ครีมกันแดดที่เป็นคู่แข่ง เพื่อนำมาพัฒนาสูตรครีมกันแดดของตัวเองให้มีความโดดเด่น จนสามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ในการจัดจำหน่ายครีมกันแดด
ในการผลิตครีมกันแดดเพื่อจัดจำหน่าย การกำหนดกลุ่มเป้าหมายถือเป็นหัวใจของธุรกิจครีมกันแดด เพราะการกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ชัดเจน จะช่วยให้ทราบถึงทิศทางการทำการตลาดที่ชัดเจน และได้ทราบถึงพฤติกรรม ความต้องการ และปัญหาของผู้บริโภค เพื่อนำไปพัฒนาและผลิตครีมกันแดดออกมาได้อย่างตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
ขั้นตอนที่ 3 คิดค้นสูตรครีมกันแดด เลือกส่วนผสม และการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้โดดเด่น
การผลิตครีมกันแดดออกมาให้โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ เป็นสิ่งที่จะช่วยตอบสนองความต้องการให้กับผู้บริโภคอย่างตรงจุด และช่วยสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ของคุณ ในตลาดครีมที่มีการแข่งขันสูงให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้การคิดค้นสูตรครีมกันแดด การเลือกส่วนผสม และการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้โดดเด่น จำเป็นที่เจ้าของแบรนด์จะต้องมีความรู้ในหลายๆ ด้าน เพื่อให้ครีมกันแดดออกมามีความโดดเด่นและปลอดภัย หรือไม่เจ้าของแบรนด์ก็ต้องมีที่ปรึกษา ทีมวิจัยและพัฒนาสูตร ที่มีความรู้ มีประสบการณ์มากเพียงพอในการผลิตครีมกันแดด เพื่อให้ได้รับคำแนะนำในการผลิตครีมกันแดดที่ถูกต้อง
ขั้นตอนที่ 4 เลือกโรงงานรับผลิตครีมที่ได้มาตรฐาน
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะส่งผลการผลิตครีมกันแดดโดยตรง ทั้งคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค นอกจากนี้ยังส่งผลต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ในตลาดด้วย
การผลิตครีมกันแดดเพื่อจัดจำหน่าย ต้องทำตามมาตรฐานใดบ้าง ?
การผลิตครีมกันแดดเพื่อจัดจำหน่ายในประเทศไทย ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานและกฎหมาย ที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้ได้ครีมกันแดดที่มีความปลอดภัย มีคุณภาพ และสามารถป้องกันรังสี UV ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมาตรฐานที่ต้องมีในการจัดจำหน่ายครีมกันแดด มีดังนี้
- การผลิตครีมกันแดดเพื่อจัดจำหน่ายต้องขอเลขที่ใบจดแจ้งกับองค์กรอาหารและยา (อ.ย) ก่อนจัดจำหน่าย เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและมีความปลอดภัย สำหรับผู้บริโภค
- การผลิตครีมกันแดดเพื่อจัดจำหน่ายต้อง แสดงข้อมูลตามความเป็นจริงบนฉลากให้ชัดเจน เช่น ค่า SPF , ค่า PA , วันหมดอายุ หรือส่วนผสมทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตครีมกันแดด
- การผลิตครีมกันแดดเพื่อจัดจำหน่ายควรเลือกโรงงานการผลิตที่มีมาตรฐาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าครีมกันแดดถูกผลิตในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และปลอดภัย
- การผลิตครีมกันแดดเพื่อจัดจำหน่ายต้องทดสอบประสิทธิภาพต่าง ๆ ก่อนการจัดจำหน่ายจริง เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของครีมกันแดดก่อนการจัดจำหน่ายจริง
- การผลิตครีมกันแดดเพื่อจัดจำหน่ายต้องมีระบบควบคุมคุณภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าครีมกันแดดที่จะนำมาจัดจำหน่ายมีคุณภาพตามที่ระบุไว้ในฉลาก
ค่า SPF ในครีมกันแดดคืออะไร ?
- Sun Protection Factor หรือ SPF คือ ค่าที่บ่งบอกถึงความสามารถในการปกป้องผิวจากรังสี UVB ของครีมกันแดด ซึ่งรังสี UVB นี้ เป็นรังสีที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับผิวได้ โดยการผลิตครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงจะช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVB ได้ดีและนานมากกว่าครีมกันแดดที่มี SPF ต่ำ
ค่า PA ในครีมกันแดดคืออะไร ?
- Protection Grade of UVA หรือ PA คือค่าที่บอกถึงประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากรังสี UVA ที่เป็นรังสีที่สามารถทำลายคอลลาเจนและอีลาสตินในชั้นผิวหนังลึก จนผิวสูญเสียความยืดหยุ่นของผิว และทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัยได้
ผลิตครีมกันแดดต้องมีทั้ง SPF และ PA หรือไม่ ?
- ในการผลิตครีมกันแดด ควรผลิตให้มีทั้งค่า SPF และ PA เพื่อให้ครีมกันแดดที่ได้สามารถปกป้องผิวจากแสงแดดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุม สามารถปกป้องผิวได้จากทั้งรังสี UVA และรังสี UVB เพราะทั้งสองรังสีมีผลกระทบต่อผิวที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการผลิตครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพ สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ตรงจุด ควรผลิตครีมกันแดดที่มีทั้ง SPF และ PA
ผลิตครีมกันแดดต้องใช้ SPF เท่าไหร่ ?
ในประเทศไทยการผลิตครีมกันแดดและการระบุค่า SPF บนผลิตภัณฑ์ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดังนี้
- การผลิตครีมกันแดดที่จดทะเบียน ต้องมีค่า SPF ขั้นต่ำ 6 ขึ้นไป จึงจะสามารถระบุค่า SPF บนฉลากบนผลิตภัณฑ์ได้
- การระบุ SPF บนฉลาก ต้องระบุตามค่าที่วัดได้ตามจริง
- หากผลิตครีมกันแดดที่มีค่า SPF มากกว่า 50+ ผู้ผลิตไม่สามารถระบุค่า SPF ที่สูงกว่า 50+ โดยตรง เช่น หากผลิตครีมกันแดด ที่มี SPF 60, SPF 70 หรือ SPF 100 ทั้งหมดจะถูกระบุเป็น SPF 50+
- การผลิตครีมกันแดด ต้องจดทะเบียนและทำการทดสอบจากห้องปฎิบัติการที่เชื่อถือได้ ในการยืนยันค่า SPF
ซึ่งการกำหนดค่า SPF ในการผลิตครีมกันแดดของแต่ละแบรนด์ ไม่ได้มีค่ากำหนดเฉพาะเจาะจง โดยแต่ละแบรนด์สามารถผลิตครีมกันแดดที่มีค่า SPF ของตัวเองได้เลย โดยพิจารณาจากปัจจัยการพิจารณาหลายปัจจัย เช่น วัตถุประสงค์ทางการตลาดของแบรนด์ , ส่วนผสมที่ใช้ในสูตร หรือรูปแบบของครีมกันแดด โดยค่า SPF ครีมกันแดดในประเทศไทย ที่เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคจะมี ดังนี้
- ครีมกันแดดค่า SPF 15-30
การผลิตครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15-30 จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เผชิญแสงแดดในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่สัมผัสแดดร้อนจัด หรืออยู่ในร่ม เช่น ผู้บริโภคที่เดินทางในร่ม มักทำกิจกรรมอยู่ในบ้านหรือออฟฟิศ ซึ่งค่า SPF ระดับนี้เพียงพอสำหรับการปกป้องผิวจากรังสี UV ที่ไม่รุนแรงมาก
- ครีมกันแดดค่า SPF 30-50
การผลิตครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30-50 ช่วยตอบสนองผู้บริโภคที่สัมผัสแสงแดดแรงขึ้น ผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งที่ต้องเผชิญแสงแดดแรง และยาวนาน เช่น ผู้บริโภคที่ออกกำลังกายกลางแจ้ง ไปชายหาดหรือปิกนิก โดยครีมกันแดดที่มีค่า SPF ระดับนี้จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVB ได้ดีขึ้น จึงจะตอบสนองผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้ดี
- ครีมกันแดดค่า SPF 50+
การผลิตครีมกันแดดที่มีค่า SPF 50+ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องสัมผัสแสงแดดร้อนจัดเป็นเวลานาน ต้องการการปกป้องผิวจากแสงแดดในระดับเข้มข้น เช่น ในผู้บริโภคที่ปีนเขา หรือเล่นกีฬาในกลางแจ้ง
ดังนั้นการกำหนดค่า SPF ในการผลิตครีมกันแดด สามารถปรับได้ตามวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ได้เลย แต่ทั้งนี้ต้องทำภายใต้ข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และการจัดจำหน่ายที่ถูกต้อง
ผลิตครีมกันแดดต้องใช้ PA เท่าไหร่ ?
ในประเทศไทยการกำหนดค่า PA (Protection Grade of UVA) ในครีมกันแดด ไม่ได้มีข้อกำหนดตายตัวว่าต้องใช้ค่า PA เท่าไหร่ แต่มีข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่ต้องปฏิบัติตาม ดังนี้
- หากผลิตครีมกันแดดที่มีค่า PA ต่ำกว่า PA+ จะไม่สามารถระบุค่า PA บนฉลากผลิตภัณฑ์ได้
- การผลิตครีมกันแดดต้องได้รับการจดแจ้งกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อช่วยให้ครีมกันแดดได้รับการตรวจสอบในการป้องกันรังสี UV ที่ถูกต้อง
- ระบุค่า PA ตามจริงที่ตรวจสอบได้
ค่า PA (Protection Grade of UVA) ที่ระบุระดับการปกป้องจากรังสี UVA ในครีมกันแดดแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ ดังนี้
- ครีมกันแดดที่มีค่า PA+
ในการผลิตครีมกันแดดที่มีค่า PA+ สามารถป้องกันผิวจากรังสี UVA ได้ในระดับปานกลาง จึงสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคที่สัมผัสแดดไม่นาน หรือในผู้ที่สัมผัสแสงแดดในระยะเวลาสั้น ๆ
- ครีมกันแดดที่มีค่า PA++
ในการผลิตครีมกันแดดที่มีค่า PA++ สามารถป้องกันผิวจากรังสี UVA ได้ในระดับดี เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่สัมผัสแสงแดดมากขึ้น หรือผู้บริโภคที่มีการเผชิญแดดนานพอสมควร
- ครีมกันแดดที่มีค่า PA+++
ในการผลิตครีมกันแดดที่มีค่า PA+++ สามารถป้องกันผิวจากรังสี UVA ได้ในระดับดีมาก สามารถตอบโจทย์ได้ดีในผู้บริโภคที่ต้องเผชิญแสงแดดจัดหรือต้องการปกป้องผิวในระยะยาว
- ครีมกันแดดที่มีค่า PA++++
ในการผลิตครีมกันแดดที่มีค่า PA++++ สามารถปกป้องผิวจากรังสี UVA ได้ในระดับสูงสุด เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่ต้องเผชิญแสงแดดจัดมากและยาวนาน เช่น ผู้ที่เดินป่า ปีนเขา หรือผู้ที่ทำงานกลางแจ้งในสภาพแสงแดดจัด
การเลือกกำหนดค่า PA ในการผลิตครีมกันแดดไม่ได้มีการกำหนดเฉพาะเจาะจง สามารถพิจารณาได้ตามวัตถุประสงค์การใช้งานของผลิตภัณฑ์ และ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด ทั้งนี้การกำหนดค่า PA ในการผลิตครีมกันแดด อย่างน้อยควรมีค่าตั้งแต่ PA+ ขึ้นไป เพื่อแสดงถึงการปกป้องจากรังสี UVA และให้สามารถระบุลงฉลากบนครีมกันแดดได้อย่างถูกต้อง และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ครีมกันแดดได้
ครีมกันแดดมีกี่ประเภท ? ควรผลิตครีมกันแดดประเภทไหนดี
ก่อนการผลิตครีมกันแดด เจ้าของแบรนด์ควรรู้ก่อนว่าครีมกันแดดมีกี่ประเภท เพื่อให้สามารถเลือกผลิตครีมกันแดดได้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์มากที่สุด ซึ่งครีมกันแดด สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- ครีมกันแดดแบบ Chemical (Chemical Sunscreen) เป็นครีมกันแดดที่ทำหน้าที่ปกป้องผิวจากการดูดซับรังสี UV แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนที่ไม่เป็นอันตราย ก่อนจะปล่อยออกจากผิว ซึ่งครีมกันแดดประเภทนี้มีเนื้อสัมผัสบางเบา ซึมซาบเร็ว ไม่ทิ้งคราบขาว ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการการปกป้องผิวจากรังสี UV ยาวนาน ต้องการกันแดดเนื้อบางเบา
- ครีมกันแดดแบบ Physical (Physical Sunscreen) เป็นครีมกันแดดที่ทำหน้าที่ปกป้องผิวด้วยการสะท้อนรังสี UV ออกจากผิว สามารถป้องกันได้ทันทีหลังทา ปกป้องผิวได้ทั้งรังสี UVA และ UVB มีความเสถียรต่อแสงแดด มักตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ผิวแพ้ง่าย ต้องการปกป้องผิวในระยะยาว แต่อาจทิ้งคราบขาวได้ โดยเฉพาะในผู้บริโภคที่มีผิวสีเข้ม
- ครีมกันแดดแบบ Hybrid (Hybrid Sunscreen) เป็นครีมกันแดดที่รวมคุณสมบัติที่ดีและพัฒนาข้อด้อยของ ทั้งครีมกันแดดประเภท Chemical (Chemical Sunscreen) และครีมกันแดดประเภท Physical (Physical Sunscreen) จึงทำให้สามารถปกป้องผิวได้ด้วยการ ดูดซับและสะท้อนรังสี UV ได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งรังสี UVA และ UVB ทำให้สามารถป้องกันผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ดีมากยิ่งขึ้น
การเลือกประเภทครีมกันแดดในการผลิต ไม่มีข้อกำหนดแบบเฉพาะเจาะจง เจ้าของแบรนด์จึงสามารถเลือกประเภทครีมกันแดดในการผลิตครีมกันแดดได้ตามความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและแนวทางการตลาดของแบรนด์ได้เลย
การผลิตครีมกันแดด สามารถผลิตได้กี่รูปแบบ ?
ในปัจจุบันการผลิตครีมกันแดด สามารถทำได้หลายรูปแบบ เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งครีมกันแดดแต่ละรูปแบบสามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะ และเนื้อสัมผัสของครีมกันแดด ซึ่งที่ Pure Derima Laboratories (PDL) รับผลิตครีมกันแดดที่มีรูปแบบหลากหลายที่นิยมในตลาด ดังนี้
- รับผลิตครีมกันแดดรูปแบบเนื้อเจล เป็นครีมกันแดดเนื้อเบาบาง ซึมซาบเร็ว แห้งได้ไว เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่มีผิวแห้ง ผิวมัน และผิวแบบธรรมดา
- รับผลิตครีมกันแดดรูปแบบผสมรองพื้น เป็นครีมกันแดดที่ผสมทั้งครีมกันแดด และรองพื้นเข้าด้วยกัน ทำให้มีผิวหน้าเรียบเนียน พร้อมกับสามารถปกป้องผิวจากแสงแดดไปด้วยได้
- รับผลิตครีมกันแดดรูปแบบสเปรย์ เป็นครีมกันแดดที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในกลุ่มผู้บริโภค เนื่องจากสามารถใช้ได้ง่าย สะดวกสบาย สามารถฉีดลงบนผิวได้เลย
- รับผลิตครีมกันแดดรูปแบบเนื้อครีม เป็นครีมกันแดดที่มีเนื้อสัมผัสหนาและเข้มข้น สามารถปกป้องผิวได้อย่างยาวนาน เหมาะกับผู้บริโภคที่มีผิวแห้งและผู้ที่เล่นกีฬากลางแจ้ง เพราะครีมประเภทนี้สามารถทนต่อเหงื่อได้ดี
- รับผลิตครีมกันแดดรูปแบบแท่ง เป็นครีมกันแดดที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เพราะความสะดวกสบาย สามารถใช้งานได้ง่าย พกพาไปได้ทุกที่
- รับผลิตครีมกันแดดเนื้อน้ำนม เป็นครีมกันแดดที่มีเนื้อบางเบาเหมือนน้ำ สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการปกป้องผิวจากแสงแดดและต้องการการบำรุงด้วย
เจ้าของแบรนด์สามารถเลือกผลิตครีมกันแดดได้ตามรูปแบบที่แบรนด์ต้องการ เพื่อให้ได้ครีมกันแดดที่มีคุณภาพ และประสบความสำเร็จในตลาดที่มีการแข่งขันสูง
ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการเลือกโรงงานผลิตครีมกันแดด
การเลือกโรงงานเพื่อผลิตครีมกันแดด เป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ได้ครีมกันแดดที่มีคุณภาพ และสามารถแข่งขันในตลาดได้ โดยปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการเลือกโรงงานผลิตครีมกันแดด ดังนี้
- ประสบการณ์ในการผลิตและประสบการณ์ ของโรงงานที่รับผลิตครีมกันแดด
- การรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) หรือการรับรองการผลิตตามมาตรฐานอื่น ๆ เช่น มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) หรือ มาตรฐาน ISO เพื่อยืนยันคุณภาพและกระบวนการผลิตว่าการผลิตจะเป็นไปตามมาตรฐาน
- ความสามารถในการผลิตตามความต้องการของโรงงาน ว่าสามารถพัฒนาสูตรครีมกันแดดที่ตรงกับความต้องการของแบรนด์ได้หรือไม่
- การใช้สารสกัดและส่วนผสมที่โรงงานใช้ ควรตรวจสอบให้ถี่ถ้วนว่าโรงงานผลิตครีมกันแดดใช้สารสกัดและส่วนผสม ที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัยตามมาตรฐาน
- ควรเลือกโรงงานผลิตครีมกันแดดที่มีการทดสอบประสิทธิภาพของครีมกันแดด เพื่อยืนยันว่าครีมกันแดดที่ผลิตออกมาสามารถปกป้องผิวจากแสงแดดได้จริง และไม่ก่อให้เกิดการแพ้หรือระคายเคืองต่อผู้บริโภค
- ควรเลือกโรงงานที่สามารถรองรับการผลิตได้ตามที่แบรนด์ต้องการ หากแบรนด์ขยายตลาดหรือเพิ่มปริมาณการผลิตในอนาคต
ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการเลือกบรรจุภัณฑ์ครีมกันแดด
การเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับครีมกันแดด เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากในการผลิตครีมกันแดด เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ส่งผลต่อหลายปัจจัย โดยเฉพาะกับการรักษาคุณภาพของครีมกันแดดและความสะดวกในการใช้งานของผู้บริโภค ทำให้ปัจจัยในการเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับครีมกันแดดมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา ดังนี้
- ความสามารถในการปกป้องสารกันแดดหรือส่วนผสมจากแสงแดด
- ความสะดวกในการใช้งานของผู้บริโภค ที่จะช่วยให้การทาครีมกันแดดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ต้องสัมผัสเนื้อผลิตภัณฑ์มากเกินไป เพื่อลดการปนเปื้อน
- ความทนทานและความปลอดภัย ไม่แตกหักง่าย หรือรั่วซึม หรือเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากการสัมผัสสิ่งสกปรก
- ความสามารถในการป้องกันการปนเปื้อน ที่อาจทำให้ผลิตภัณฑ์เสื่อมสภาพ หรือเกิดเชื้อโรคได้
- ความเหมาะสมกับรูปแบบผลิตภัณฑ์
- ขนาดบรรจุภัณฑ์ตามการใช้งานและกลุ่มเป้าหมาย
- การรองรับมาตรฐานและการจัดเก็บ
การเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับครีมกันแดด ส่งผลโดยตรงกับประสิทธิภาพของการปกป้องครีมกันแดดจากแสงแดด และการใช้งานของผู้บริโภค อีกทั้งยังสามารถช่วยเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ ดังนั้นการเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับครีมกันแดดควรพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้ครีมกันแดดที่ผลิตออกมามีประสิทธิภาพ
การผลิตครีมกันแดด ต้องทดสอบอะไรบ้าง ?
หนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการผลิตครีมกันแดด คือ การทดสอบครีมกันแดดก่อนการจัดจำหน่ายจริง เพื่อให้แน่ใจว่าครีมกันแดดที่ถูกผลิตออกมานั้น มีประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากแสงแดด และไม่ก่อให้เกิดการแพ้หรือการระคายเคืองต่อผู้บริโภค ซึ่งการทดสอบครีมกันแดดก่อนการจัดจำหน่ายนั้นมีหลายการทดสอบ ดังนี้
- ทดสอบค่า SPF (Sun Protection Factor) เพื่อหาค่าการปกป้องจากรังสี UVB ให้มั่นใจได้ว่าครีมกันมีความสามารถในการป้องกันแสงแดดในระดับที่แบรนด์ต้องการ
-
- ทดสอบค่า PA (Protection Grade of UVA) เพื่อวัดการปกป้องผิวจากรังสี UVA ให้เป็นการยืนยันได้ว่าครีมกันแดดสามารถปกป้องผิวจากรังสี UVA ได้จริง
- ทดสอบการคงตัวของสูตร (Stability Testing) เพื่อเป็นการยืนยันว่าครีมกันแดดยังคงมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัย เมื่อถูกเก็บรักษาในสภาวะต่าง ๆ
- ทดสอบการระคายเคืองผิว (Skin Irritation Test) เพื่อประเมินว่าผลิตภัณฑ์ทำให้เกิดการระคายเคืองบนผิวหรือไม่
- ทดสอบความสามารถในการกันน้ำ (Water Resistance Test) เพื่อยืนยันว่าครีมกันแดดยังคงประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากรังสี UV แม้ในขณะมีเหงื่อหรือลงน้ำ
- ทดสอบความเข้ากันได้ของบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้มั่นใจว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สามารถปกป้องและคงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ตลอดอายุการใช้งาน
- ทดสอบการปนเปื้อน (Microbial Testing) เพื่อยืนยันว่าผลิตภัณฑ์ปลอดภัยจากการปนเปื้อน ไม่ส่งผลต่อผู้ใช้
- ทดสอบการประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของครีมกันแดดในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
ข้อควรระวังในการผลิตครีมกันแดด
การผลิตครีมกันแดดมีปัจจัยที่ควรระมัดระวังหลายอย่าง เนื่องจากทุกกระบวนการการผลิตครีมกันแดดมีความสำคัญ จึงจำเป็นต้องระมัดระวังให้ทุกกระบวนการเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าครีมกันแดดที่ถูกผลิตออกมามีความปลอดภัยและมีคุณภาพดีตรงกับความต้องการของแบรนด์ โดยปัจจัยที่ควรระมัดระวังในการผลิตครีมกันแดด มีดังนี้
1.การคัดเลือกส่วนผสมและสารสกัด ในการผลิตครีมกันแดด
ในการผลิตครีมกันแดดการคัดเลือกส่วนผสมและสารสกัด เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะส่งผลโดยตรงกับคุณภาพของครีมกันแดด ซึ่งในการผลิตครีมกันแดดควรหลีกเลี่ยงสารที่อาจก่อให้เกิดการแพ้หรือระคายเคืองได้ อีกทั้งยังควรตรวจสอบความเข้ากันของสารก่อนนำมาผลิต เพื่อให้สารที่นำมาใช้ร่วมกันมีประสิทธิภาพสูงสุด และควรเลือกสารกันแดดที่มีความเสถียรในการนำมาผลิตครีมกันแดดอีกด้วย
2.การคิดค้นและพัฒนาสูตร ในการผลิตครีมกันแดด
ในการผลิตครีมกันแดดกระบวนการคิดค้นและพัฒนาสูตรครีมกันแดด เป็นกระบวนการที่มีความละเอียดและซับซ้อนเป็นอย่างมาก เจ้าของแบรนด์จึงต้องทำงานร่วมกับทีมวิจัยและพัฒนา (R&D) อย่างรอบคอบ เพื่อให้ได้ครีมกันแดดที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด และมีความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
3.การตรวจสอบมาตรฐานและความปลอดภัย ในการผลิตครีมกันแดด
ในการผลิตครีมกันแดดการรักษามาตรฐานและความปลอดภัย ในการผลิตครีมกันแดดเป็นปัจจัยที่สำคัญเป็นอย่างมาก ช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้ ซึ่งถ้าหากเจ้าของแบรนด์ละเลยมาตรฐาน อาจส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ได้
4.การทดสอบผลิตภัณฑ์ทุกขั้นตอน ในการผลิตครีมกันแดด
การทดสอบครีมกันแดดก่อนการจัดจำหน่าย เป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยยืนยันประสิทธิภาพ ความปลอดภัยของครีมกันแดด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าครีมกันแดดที่ถูกผลิตออกมามีคุณภาพตามที่แบรนด์ต้องการ อีกทั้งการทดสอบครีมกันแดดอย่างถูกต้องก่อนการจัดจำหน่าย จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์อีกด้วย
5.ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดได้ ในการผลิตครีมกันแดด
การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อระบบนิเวศทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นปัจจัยที่เจ้าของแบรนด์ควรคำนึงถึงอย่างถี่ถ้วน เพื่อช่วยลดผลกระทบทางลบที่อาจเกิดต่อธรรมชาติ และยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนได้อย่างดีอีกด้วย
หากสนใจผลิตครีมกันแดดกับโรงงานที่ได้มาตรฐานระดับสากล พร้อมประสบการณ์กว่า 10 ปี ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย Pure Derima Laboratories พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลแบรนด์ของคุณอย่างครบวงจร ครอบคลุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่การพัฒนาสูตร การผลิต การควบคุมคุณภาพ ตลอดจนครีมกันแดดของคุณพร้อมจัดจำหน่ายสู่ตลาด ทำให้คุณสามารถมั่นใจได้เลยว่าครีมกันแดดที่ผลิตออกมาจะมีคุณภาพ และมีความปลอดภัยตามมาตรฐานแน่นอน เพราะเรามีทีมวิจัยและพัฒนาที่มีประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาและดูแลอย่างใกล้ชิด